การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT
ANALYSIS)
ความหมายของ SWOT
SWOT ประกอบด้วยส่วนของภายใน คือ จุดแข็ง
(Strengths) และ จุดอ่อน (Weaknesses)
และสภาพแวดล้อมภายนอก คือ โอกาส (Opportunities) และ อุปสรรค (Threats) ที่องค์กรจะต้องเผชิญ ดังนั้น การวิเคราะห์ SWOT
เป็นการใช้เทคนิคอย่างกว้าง ๆ สร้างภาพรวมของสถานการณ์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร โดยมีการอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและมีการนำไปใช้อย่างถูกต้อง
และเหมาะสมกับองค์กร ประกอบด้วย
โอกาส (O : Opportunities) เป็นสถานการณ์ที่น่ายินดีอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมขององค์กรที่มากระทบกับองค์กรแล้วทำให้องค์กรได้ประโยชน์ เช่น
นโยบายของรัฐ กฎหมาย และอื่นๆ
อุปสรรค (Threats) เป็นสถานการณ์ที่ไม่น่ายินดีในสภาพแวดล้อมขององค์กร คือสิ่งกีดขวางที่สำคัญ ที่มากระทบกับองค์กรแล้วทำให้องค์กรเสียประโยชน์หรือเสียหาย เช่น ภัยธรรมชาติ นโยบายของรัฐบาล ภาวะเศรษฐกิจ และอื่นๆ
จุดแข็ง
(Strengths) คือ
ทรัพยากรหรือศักยภาพที่ได้เปรียบที่องค์กรมีอยู่ เป็นความสามารถที่โดดเด่นขององค์กร
จุดอ่อน
(Weaknesses) คือข้อจำกัดหรือความขาดแคลนในทรัพยากรที่ขัดขวางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กร
การวิเคราะห์ จุดแข็ง
จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT ANALYSIS) ให้มีประสิทธิภาพ
ก็คือ
การวิเคราะห์ภายในอย่างถูกต้อง นั้นคือ การนำประเด็นลักษณะของจุดแข็งและจุดอ่อนเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งสามารถนำไปสร้างเป็นกลยุทธ์ขององค์กรได้
โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์จะต้องพิจารณาองค์ประกอบจาก แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการเคราะห์
SWOT เช่น
ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ และข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ
ดังนั้น
เพื่อให้การจัดทำ SWOT เป็นไปอย่างถูกต้องสามารถปฏิบัติได้หลายทาง
ในที่นี้จะ
กล่าวถึง
2
กรณีดังนี้
กรณีที่สหกรณ์ยังไม่เคยมีการวิเคราะห์
SWOT
มาก่อนหรือเป็นการวิเคราะห์ SWOT ไว้นานแล้ว
กิจกรรมที่
1 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค (SWOT)
1.1
ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ
กรณีที่สหกรณ์ยังไม่เคยมีการวิเคราะห์ SWOT
มาก่อนหรือเป็นการวิเคราะห์ SWOT ไว้นาน
แล้ว
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์จะต้องดำเนินการวิเคราะห์ SWOT
ใหม่ร่วมกับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย
โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่
1 การพิจารณากลุ่มเป้าหมายที่จะนำมาจัดทำ SWOT
ต้องประกอบด้วย
บุคลากรของสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกร ประกอบด้วย ฝ่ายคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
ฝ่ายจัดการ และสมาชิกหรือผู้แทนสหกรณ์
โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำ
ขั้นตอนที่
2 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น
เช่น กระดาษชาร์ท คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ กระดาษบันทึก หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่
3 กระบวนการการสังเคราะห์
1. เลือกผู้นำเวทีขึ้นมา 1 –
2 คน เพื่อนำกระบวนการ
ซึ่งต้องเข้าใจองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ SWOT ที่ดีพอ
2. อธิบายเค้าโครงที่จะจัดทำ ตั้งแต่การวิเคราะห์องค์กร เกี่ยวกับปัจจัยภายใน/
ปัจจัยภายนอก ที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
แล้วพิจารณาเลือกเครื่องมือแต่ละตัวมาวิเคราะห์ เช่น 7S, PEST
3. นำการวิเคราะห์ทั้งประเด็นของส่วนของภายใน
และสภาพแวดล้อมภายนอก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามตารางที่ 1 ประเด็นการวิเคราะห์
SWOT จากข้อมูลต่าง ๆ
1.2 ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ
กรณีที่สหกรณ์มีการวิเคราะห์ SWOT
มาก่อนแล้ว สหกรณ์อาจจะนำมาทบทวนเพื่อ ที่มาจาก ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ เช่น
แผนกลยุทธ์ของสหกรณ์ มาตรฐานสหกรณ์
ธรรมภิบาล การควบคุมภายใน CAMELS
การวิเคราะห์ 360
องศา งบการเงินของสหกรณ์
ข้อบกพร่องของสหกรณ์ หรือ ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีของสหกรณ์ และอื่น ๆ
ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์จะต้องนำข้อมูล มาทำการปรับปรุง ให้ถูกต้องเหมาะสมและทันสมัย
โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องพิจารณา จุดอ่อน (Weaknesses) และ อุปสรรค
(Threats) ดังนี้
ตารางที่ 1 ประเด็นการวิเคราะห์
SWOT จากข้อมูลต่าง ๆ
ที่
|
รายการ/ ข้อมูลจาก
|
จุดอ่อน(Weaknesses)
|
จุดแข็ง
(Strengths)
|
แหล่งอ้างอิงจาก
|
1.
|
มาตรฐานสหกรณ์
|
ดูจากข้อที่สหกรณ์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
|
ดูจากข้อที่สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
|
กจส.
|
2.
|
ผลการประเมินการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในของสหกรณ์
|
ดูจากข้อที่มีผลการประเมินในระดับพอใช้ หรือ ปรับปรุง
|
ดูจากข้อที่มีผลการประเมินในระดับดี
หรือ ดีมาก
|
สตส.
|
3.
|
การวิเคราะห์ Camels
|
ดูจากผลการวิเคราะห์แต่ละด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่ามาตรฐาน
|
ดูจากผลการวิเคราะห์แต่ละด้านที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
หรือสูง กว่ามาตรฐาน
|
สตส.
|
4.
|
การวิเคราะห์ 360 องศา
|
ดูจากแผนภูมิเรดาห์(ใยแมงมุม)ในส่วนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
|
ดูจากแผนภูมิเรดาห์(ใยแมงมุม) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
|
|
5.
|
ธรรมาภิบาลของสหกรณ์
|
ดูจากผลการประเมินที่มีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 70
|
ดูจากผลการประเมินที่มีคะแนนสูงกว่าร้อยละ 70
|
กบส.
|
6.
|
ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี
|
ดูจากรายงานการสอบบัญชีที่มีข้อบกพร่อง
หรือไม่ปฏิบัติตาม
|
ดูจากรายงานการสอบบัญชีที่ไม่พบข้อสังเกต
|
สตส.
|
7.
|
ข้อบกพร่องของสหกรณ์
|
ดูจากผลการดำเนินงานของสหกรณ์ที่เกิดข้อบกพร่องหรือเกิดการทุจริตของสหกรณ์
|
ดูจากผลการดำเนินงานของสหกรณ์ที่ไม่พบข้อบกพร่อง
|
กจส.
|
สำหรับประเด็นสภาพแวดล้อมภายนอก
ได้แก่ โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ จะต้องพิจารณาข้อมูลจากประเด็นดังนี้
ที่
|
รายการ
|
อุปสรรค(Threats)
|
โอกาส (Opportunities)
|
หมายเหตุ
|
1.
|
นโยบายของรัฐ
|
/
|
/
|
ส่วนใหญ่ประเด็นการวิเคราะห์มักเป็นโอกาส (O)
|
2.
|
โครงสร้างพื้นฐาน
|
/
|
/
|
ส่วนใหญ่ประเด็นการวิเคราะห์มักเป็นโอกาส (O)
|
3.
|
คู่แข่งขัน
|
/
|
/
|
ส่วนใหญ่ประเด็นการวิเคราะห์มักเป็นอุปสรรค (T)
|
4.
|
ภัยธรรมชาติ
|
/
|
/
|
ส่วนใหญ่ประเด็นการวิเคราะห์มักเป็นอุปสรรค (T)
|
5.
|
ความผันผวนทางการเมือง
|
/
|
/
|
ส่วนใหญ่ประเด็นการวิเคราะห์มักเป็นอุปสรรค (T)
|
6.
|
ภาวะเศรษฐกิจโลก
|
/
|
/
|
ส่วนใหญ่ประเด็นการวิเคราะห์มักเป็นอุปสรรค (T)
|
กิจกรรมที่ 2 การจัดทำตาราง SWOT
เมื่อได้ผลการวิเคราะห์
SWOT
จากการสังเคราะห์อย่างถูกต้องแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์
นำมาจัดสร้างเป็นตาราง SWOT ANALYSIS ตามแบบที่กำหนด
ปัจจัยภายใน (จุดแข็ง)
Strengths
: S
|
ปัจจัยภายใน (จุดอ่อน)
Weaknesses
: W
|
1
2
3
4
|
1
2
3
4
|
ปัจจัยภายนอก(โอกาส)
Opportunities
: O
|
ปัจจัยภายนอก (อุปสรรค)
Threats
: T
|
1
2
3
4
|
1
2
3
4
|
ตารางที่ 2 ตัวอย่าง ตาราง SWOT ANALYSIS
ปัจจัยภายใน (จุดแข็ง)
Strengths
: S
|
ปัจจัยภายใน (จุดอ่อน)
Weaknesses
: W
|
1.พื้นที่ความรับผิดชอบครอบคลุมในตำบลเดียว
|
1.สมาชิกและคณะกรรมการฯ
มีความเข้าใจในด้านธุรกิจสหกรณ์น้อย
|
2.สมาชิกและคณะกรรมการฯ
เป็นเกษตรกรที่มีอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่
|
2.สหกรณ์ดำเนินธุรกิจสหกรณ์เพียง
2 อย่าง:
ธุรกิจสินเชื่อและธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย
|
3.สมาชิกส่วนใหญ่มีความชำนาญด้านการทำนาเพาะปลูก
และเป็นคนในหมู่บ้านเดียวกัน
|
3.ขาดอาคารสำนักงานเป็นของตนเอง
ต้องอาศัยบ้านประธานฯเป็นที่ทำการชั่วคราว
|
4.สหกรณ์มีการกำหนดข้อบังคับระเบียบเพียงพอเหมาะสมต่อการดำเนินงาน
|
4.อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานไม่เพียงพอ
|
5.ใกล้เขตอำเภอเมืองและการคมนาคมสะดวก
|
5.สมาชิกไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
และมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจน้อย
|
6.สหกรณ์ไม่เคยมีการทุจริต
|
6.สมาชิกขาดแรงจูงใจ
|
7.สมาชิกมีการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
|
7.ทุนดำเนินงานของสหกรณ์มีจำกัด
ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจรวบรวมผลผลิตและบริการอื่นได้
|
8.
คณะกรรมการฯ มีความเอาใจใส่ต่อกิจการสหกรณ์พอประมาณ
|
|
ปัจจัยภายนอก(โอกาส)
Opportunities
: O
|
ปัจจัยภายนอก (อุปสรรค)
Threats
: T
|
1.ผลผลิตของสมาชิกเป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภคค่อนข้างสูง
ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว
|
1.เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ ทำให้ถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตมีจำนวนมาก
ทำให้ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
|
2.ราคาผลผลิตข้าวเปลือก/ข้าวสารมีแนวโน้มมีราคาสูงขึ้นในตลาดใน/ต่างประเทศ
|
2.ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ มีราคาแพง เช่นปุ๋ย น้ำมันเชื้อเพลิง
และอื่น ๆ
|
3.ได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านเงินทุนและวิชาการจากหน่วยงานต่าง ๆ
|
3.แรงงานภาคการเกษตรมีน้อยและอัตราค่าจ้างสูง รวมถึงค่าจ้างเครื่องจักรกลการเกษตรด้วย
|
4.สหกรณ์มีเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจ
|
4.ระบบการเพาะปลูกอาศัยน้ำฝนและแหล่งน้ำธรรมชาติ
|
5.สหกรณ์มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ
|
5.มีคู่แข่งธุรกิจในท้องถิ่น (สินเชื่อ,ข้าวเปลือก
/อื่น ๆ)
|
6.จังหวัดนครพนมเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและนักท่องเที่ยวมักหาซื้อของฝากที่เป็นผลผลิตที่ด้านการเกษตร
โดยเฉพาะข้าวหอมมะลินครพนม
|
6.ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง และขาดตลาดรองรับผลผลิตที่มีการให้บริการที่ดีและราคายุติธรรม
|
7.ข้าวหอมมะลิ105 เป็นแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดนครพนม
|
7.กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีต่าง ๆ
|
นอกจากตาราง SWOT แล้ว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์อาจจัดทำตารางอุปสรรค
– โอกาส – จุดอ่อน – จุดแข็ง (TOWS Matrix) ดังรูปแบบตามตารางที่ 3
ตารางที่
3
TOWS Matrix หรือ SWOT Matrix
ทิ้งว่างไว้
|
S – จุดแข็ง
1.
2.
|
W - จุดอ่อน
1.
2.
|
O – โอกาส
1.
2.
|
SO STRATEGIES(จุดแข็ง-โอกาส)
ใช้จุดแข็งช่วยประโยชน์จากโอกาส
|
WO STRATEGIES (จุดอ่อน-โอกาส)
เอาชนะจุดอ่อนโดยช่วยประโยชน์จากโอกาส
|
T – อุปสรรค
1.
2.
|
ST STRATEGIES (จุดแข็ง-อุปสรรค)
ใช้จุดแข็งหลีกเลี่ยงอุปสรรค
|
WT STRATEGIES(จุดอ่อน-อุปสรรค)
ลดจุดอ่อนให้เหลือน้อยที่สุด
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น